วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสอนหน้าชั้นเรียน

ในวันที่ 10 -11 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสอนหน้าชั้นเรียนทีละคน และอาจารย์ก็ได้มีการให้คำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผน การร้องเพลง เนื้อหาที่สอน ลักษณะการใช้คำถาม เป็นต้นซึ่งก็ได้รับการแนะนำไปอย่างถ้วนหน้า...*_*

กลุ่มของดิฉันได้เสนอการสอนใน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นกลุ่มสุดท้ายเลย ซึ่งเป็นเรื่อง แมลง อนุบาล 3 มีแผนการสอนดังนี้ค่ะ...
วัตถุประสงค์
1. บอกชื่อแมลงที่รู้จักได้
2. บอกชื่อแมลงที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้
3. อธิบายรสชาติของแมลงได้
4. สามารถนับจำนวนได้

ประสบการณ์สำคัญ
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
3. การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของเหตุการณ์และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
4. การนับสิ่งต่างๆ
5. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ

สาระที่ควรเรียนรู้
1. แมลงบางชนิดสามารถนำมารับประทานได้เช่น ตั๊กแตน ดัดแด้ไหม แมลงกระชอน แมลงดานา เป็นต้น
2. สามารถนำมาประกอบอาหารได้โดย การทอด การคั่ว ทำน้ำพริก เป็นต้น
3. แมลงที่เป็นอาหารสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน

กิจกรรมการเรียนรู้
-ขั้นนำ
ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของแมลงที่เรียนไปแล้ว เช่น "เมื่อวานเด็กได้รู้ประโยชน์ของแมลงไปแล้วใช่ไหมค่ะ" "เด็กๆยังจำได้อยู่รึเปล่าว่าแมลงมีประโยชน์อะไรบ้าง"
1. ...........................................
2. ..........................................
3. ..........................................

-ขั้นสอน
1. ครูนำแมลงทอดใส่จาน แล้วมีฝาปิด แล้วถามเด็กๆว่า "เด็กรู้ลองทายดูสิค่ะว่า อะไรเอ่ยที่อยู่ในจาน"
2.แล้วเปิดให้เด็กดูทีละจานแล้วถามเด็กว่า "เด็กรู้ไหมว่าแมลงที่อยู่ในจานนี้มีชื่อว่าอะไร เด็กเคยพบเห็นที่ไหนรึเปล่า แล้วเด็กดีคนไหนบ้าง ที่อยากจะชิมค่ะ"
3.มาถึงจานที่ 2 ก็ถามเช่นเดียวกัน
4. ขอตัวแทนเล่าว่าแมลงที่ตนเองได้ชิมไปนั้น มีชื่อว่าอะไร รสชาติเป็นแบบไหน ให้ครูและเพื่อนๆฟัง

-ขั้นสรุป
ครูให้เด็กๆทีละคนบอกว่าใครชอบแมลงชนิดใดมากที่สุด แล้วร่วมกันนับจำนวนแต่ละชนิด แล้วมาสรุปกันว่าแมลงชนิดใดที่เด้กๆชอบมากที่สุด

สื่อ
1. ตั๊กแตนทอด และ ดักแด้ไหมทอด เป็นต้น
2. แผ่นชาร์จนับจำนวน

การวัดและการประเมินผล
1. การสังเกตจากการตอบโต้ด้วยคำพูด
2.สังเกตจากการแสดงความรู้สึกผ่านคำพูด
3. สังเกตจากการนับจำนวน

ข้อเสนอแนะของอาจารย์
1. มีการใช้ความรู้เดิม
2. มีของจริงมาให้เด็กได้ลองชิม และสัมผัสด้วยตนเอง
3. มีการทำแผ่นชาร์จแสดงความ มาก-น้อย ให้เด็กได้เห็นอย่างชัดเจน

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553


สวัสดีค่ะ การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายถึง "วิธีการจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ " และจากนั้นก็ได้อธิบายเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหา และวิธีการสอนของแต่ละช่วงอายุ อย่างละเอียดโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
ก่อนอื่นต้องรู้ "วิธีการเรียนรู้ของเด็ก"(การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติ)
ได้แก่
-รู้พัฒนาการ
-รู้ความต้องการของเด็ก
-รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีการสอนคณิตศาสตร์
-โดยสอนจากของจริง + ภาพ + สัญลักษณ์

สำหรับบบรรยากาศภายในห้องเรียนวันนี้นักศึกษามีความตั้งในในการฟังในสิ่งอาจารย์ได้อธิบาย แต่ก็มีบางส่วนอีกเช่นเคย ที่ยังไม่มีสมาธิ แต่สภาพโดยรวมแล้วถือว่าดีค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม 2553

วันนี้อาจารย์เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่มซึ่งมีทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มของดิฉันได้กลุ่ม A 3 เรื่อง แมลง ส่วนอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม B ได้เรื่อง ดอกไม้ และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละกลุ่มจะต้องถ่ายทอดให้เด็กอนุบาลอย่างถูกต้องตามหลักพัฒนาการ จากนั้นอาจารย์เริ่มอธิบาย แนะนำวิธีการสอนให้กับกลุ่ม ดอกไม้ก่อน เช่น
หน่วยดอกไม้
-อนุบาล 1 เป็นเรื่องของดอกไม้ ลักษณะ ประโยชน์ และโทษ ของดอกไม้เป็นต้น
-อนุบาล 2 เป็นการเจาะจงดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เรื่องง ดอกกุหลาบ
-อนุบาล 3 เน่นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น การสอนลักษณะของดอกไม้ว่ามีลักษณะอย่างไร จะต้องให้เด็กเห็นอย่างชัดเจน คือเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กได้มีการออกสำรวจสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างครบทุกด้าน

หน่วยแมลง

เนื้อหาบางส่วนมีความคล้ายคลึงกันกับกลุ่ม ดอกไม้
อนุบาล 1 เป็นเรื่องของชื่อแมลง ลักษณะ ประโยชน์และโทษ เป็นต้น
อนุบาล 2 เจาะจงแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ยุง
อนุบาล 3 เป็นเรื่องของประเภทของแมลง การสำรวจสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับแมลง เช่นสถานที่ที่มีแมลง การเรียกแมลง โประโยชน์ของแมลง และแมลงที่เป็นอาหารของมุษย์

นี่ก็เป็นเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องนำไปบูรณาการให้สอดคล้องกับการเขียนแผนให้ถูกต้องค่ะ ส่วนบรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นไปด้วยดีนักศึกษามีความต้องใจในการฟังเกือบทุกคนค่ะ...

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม 2553

สวัสดีทุกๆคนค่ะ วันนี้ได้มาเรียนที่ห้องคอม ฯ เช่นเคยค่ะ วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่มีปัญหาอีกแล้ว คืองานที่ส่งไปมันเปิดไม่ได้ อาจารย์ก็เลยได้อธิบายเพิ่มเติมบางส่วนในการส่งงาน โดยให้นำงานเดิมที่ทำอยู่แล้วมาแบ่งเป็น 3 ระดับ อนุบาล 1 2 3 ตามลำดับ แล้วให้ตกลงกันว่าจะอยู่ในระดับใด แล้วจึงนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์
-งานอีกหนึ่งอย่างคือ การร้อยลูกปัดด้วยลวดกำมะหยี่ จำนวน 1-10 เสัน แล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายวิธีการเล่น แต่ดิฉันก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ
-บรรยายกาศภายในห้องเรียนค่อนข้างตรึงเคลียด เพราะยังมีนักศึกษาบางส่วน ยังตั้งหน้าตั้งตาเล่นเกมส์ หรือทำอะไรที่นอกเหนือจากการเรียนอยู่ อาจารย์เลยดุนิดหน่อย แต่ดิฉันก็ไม่ได้เป็นหนึงในนั้นน่ะเพราะดิฉันพยยามตอบโต้กับอาจารย์ถึงแม้บางครั้งจะตอบไม่ตรงก็เถอะ...

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2553


สวัสดีค่ะทุกๆคน วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวเรื่องของคณิตศาสตร์ เราไปดูกันนะค่ะว่ามีหัวข้ออะไรกันบ้าง...
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก
-ลักษณะหลักสูตรที่ดี
-หลักการสอน
-หลักการสอนทางคณิตศาสตร์
-ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

โดยสรุปแล้วมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
-ในเรื่องของตัวเลขนั้น ควรให้เด็กได้มีการคิด ได้เห็น และเขียนเอง และควรเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย เช่น การเขียนวันที่ อายุ เลขห้อง เบอร์โทร น้ำหนัก ส่วนสูง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิกในห้อง จำนวนสมาชิกในบ้านฯลฯ
-มาตราการวัดระบบเมตริก : เป็นการใช้เครื่องไม่เป็นทางการในการวัด เช่น ฝ่ามือ แก้ว กระป๋อง ฯลฯ
-ความเชื่อมั่นของเด็กจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กลงมือทำดวยความเต็มใจ โดยที่ครูเป็ผู้สนับสนุนและคอยเป็นกำลังใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์

1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับตัวเลข
9. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก

รายละเอียดด้านบนนี้ก็เป็นความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนในวันนี้ค่ะ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ดิฉันควรจะจดจำไว้ใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด ส่วนบรรยากาศในห้อง วันนี้รู้สึกว่าจะหนาวไม่เปลี่ยนแปลง ดิฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเครื่องปรับอากาศถึงปรับอุณหภูมิไม่ได้ งงง... ส่วนเรื่องบรรยากาศการมีส่วนร่วมระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ก็เป็นไปได้ดีมีการตอบโต้กันไปมาบ้าง ก็สนุกสนานกันไปค่ะ ...

สรุป การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-"คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวน วิชาคำนวน การประมาณ
-"คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวนหรือตำรา
-คณิตศาสตร์ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อยู่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากว่าหรือน้อยกว่า สั้น -ยาว สูง -ต่ำ ใหญ่- เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาณมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

-คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขมนอบคอบและนำไปสบู่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้นมักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด้กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ
2. ตัวเลช
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

จิตวิทยาการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้เช่น
คิมเบิล (Kimble,1964) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard &Bower,1981 )"การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์
ประดินันท์ อุปรมัย (2550, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้):นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ 15 ,หน้า 121)"การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม " ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม
ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง เช่น เด็กเล็กๆที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า " ร้อน " เวลาคลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร ต่อไปเมื่อเขาเห็นกาน้ำอีก แล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่า ร้อน ที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่าเป็นประสบการณ์ตรง ผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม การมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
4. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ

ประสบการณ์ทางอ้อมคือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมอได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั้งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างงๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศ฿กษาซึ่งกำหนดโดยสรุป บลูม และคณะ (Bloom and Others) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผล
2. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่า และค่านิยม
3. ด่นทักษะพิสัย(Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่นไหว การกระทำ การปฎิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้

ดอลลาร์ด และมิลเลอร์(Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. แรงขับ (Drive) เป้ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2. สิ่งเร้า(Stimulus) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึง ครู กิจกรรมการสอนและอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
3. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นการรับรู้จากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง การพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเริมแรงทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552


สวัสดีค่ะ...วันนี้รู้สึกว่าจะมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการส่งงานนิดหน่อยค่ะ นักศึกษาคิดว่างานที่อาจารย์สั่งในคาบที่แล้วที่ได้กลุ่มละหัวข้อนั้น เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ส่งทาง E-mail ไปให้อาจารย์ แต่กลับไม่ใช่อาจารย์สั่งว่าให้นำมาเสนอหน้าชั้นเรียน สรุปแล้วก็ผิดไปตามๆกัน อาจารย์เลยแก้ปัญหาโดยการตรวจสอบภายในเวลาเรียนเลย เพื่อที่จะได้เป็นการแก้ไข และให้คำแนะนำที่ถูต้องแก่นักศึกษา
เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจงานแล้ว อาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่อง "การออกสังเกตการสอนตามโรงเรียนต่างๆ" ว่าใครจะไปโรงเรียนไหน ดิฉันได้คิดและไต่ตรองอย่างนักเลยทีเดียวเชียว เลยตัดสินใจไปโรงเรียนเกษมพิทยา ซึ่งไปทั้งหมดกัน 14 คนค่ะ โชคดีที่มีแต่เพื่อนๆที่สนิทกัน ซึ่งดิฉันคิดว่า ถ้าเกิดมีปัญหาอะไรเพื่อนๆเหล่านี้คงเป็นที่ปรึกษาให้กับดิฉันได้...

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552


สวัสดีค่ะ วันนี้เป็นที่ 2 ที่เข้าเรียน วันนี้อาจารย์จินตนา ได้อธิบายถึงวิธีการเขียนอนุทิน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ดิฉันต้องฝึกเขียนให้ชำนาญ เพราะจะช่วยให้ดิฉันสามารถอธิบายหรือเล่าเรื่องราวผ่านการเขียนอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ดิฉันคิดว่าเราอย่ามัวเสียเวลาอยู่เลยนะค่ะ เป็นดูกันเลยว่าการเขียนอนุทิน มีหลักในการเขียนอย่างไรบ้าง...
1. ระบุวันเวลา
2. บอกเล่าถึงสาระสำคัญ
3. บรรยากาศ
4. บันทึกความรู้ความเข้าใจ และผลของงานที่ได้ในวันนั้น
5. มีการสอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิดต่างๆ
6. การนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
จากนั้นอาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 4-5 คน เพื่อทำงานกลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันได้เรื่อง "จิตวิทยาการเรียนรู้" การส่งงานนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาส่งทาง E-mail ก็รับทราบทั่วกัน วันนี้รู้สึกว่าบรรยากาศช่างวุ่นวายอะไรเช่นนี้เพราะเคลียร์เรื่องเงินค่าเสื้อเอกไม่ลงตัว ค่อยๆคุยกันนะค่ะ อย่าใช้อารมณ์ เป็นดีที่สุด

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552

วันนี้เป็นการเข้าเรียนในวันแรก บรรยากาศภายในห้องก็รู้สึกว่าจะเย็นขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และที่สำคัญคือการจัดทำบล็อค เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ หรือสิ่งอื่นๆที่อยากจะรวบรวมไว้กันลืม หรืออยากจะเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ต่างๆ ซึ่งก็เคยได้มีโอกาศได้จัดทำมาแล้ว ก็สามารถทำได้โดยใช้ความรู้เดิม แต่ก็ติดขัดบ้างเล็กน้อย และเพื่อนก็ได้ให้ความช่วยเหลือและทุกอย่างก็ลุล่วงไปได้ด้วยดีค่ะ