วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปสาระความรู้ต่างๆ


สวัสดีค่ะ วันนี้เป็นการเรียน การสอนวันสุดท้ายของภาคเรียนที่2/2552 ที่ว่าด้วยวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็รู้สึกว่าตลอดระยะเวลาที่เรียนมามีความรู้สึกว่า มันช่างเร็อะไรอย่างนี้ ทำงานกันแทบไม่ทัน แต่ก็จะพยายามรีบทำให้ทันเพื่อนและให้ครบทุกอย่างค่ะ ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1).การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และสามารถนำมาบูรณาการให้เกิดเป็นความรู้ได้ยาก
2).ขอบข่ายการสอนคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 12 เรื่องดังนี้ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท ๆ
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
3)ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์จะต้องรู้พัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมให้ตรงกับความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ
4)ได้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนการสอน เช่น การทำบล็อค เป้นต้น
และนอกจากนี้ก็ยังมีความรู้อีกมากมายที่ได้ซึมซับจากท่านอาจารย์ แต่ถ้าจะให้บรรยายออกมาก็คงจะบรรยายได้ไม่ครบ เอาเป็นว่าทุกทุกอย่างท่านอาจารย์ได้สั่งสอนมาก็จะพยายามนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้ค่ะ

กิจกรรมกับผู้ปกครองในการส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยายด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่งน้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก
3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1.10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งค่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกัน ในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสงการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลมสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจุรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง”
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียนพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิทของเด็กเพื่อสินประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไข ปรับปรุง
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงควบคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด้กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวันการนับ ถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เด็กจะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่าง ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควรให้เด็กได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล 2. มะม่วง 2-3 ผล 3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้

การประเมินผล
สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่

ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
(ที่มา : http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_child/chap07/7_20_10.html)