วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปสาระความรู้ต่างๆ


สวัสดีค่ะ วันนี้เป็นการเรียน การสอนวันสุดท้ายของภาคเรียนที่2/2552 ที่ว่าด้วยวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็รู้สึกว่าตลอดระยะเวลาที่เรียนมามีความรู้สึกว่า มันช่างเร็อะไรอย่างนี้ ทำงานกันแทบไม่ทัน แต่ก็จะพยายามรีบทำให้ทันเพื่อนและให้ครบทุกอย่างค่ะ ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1).การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และสามารถนำมาบูรณาการให้เกิดเป็นความรู้ได้ยาก
2).ขอบข่ายการสอนคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 12 เรื่องดังนี้ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท ๆ
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
3)ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์จะต้องรู้พัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมให้ตรงกับความสามารถของเด็กแต่ละช่วงอายุ
4)ได้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนการสอน เช่น การทำบล็อค เป้นต้น
และนอกจากนี้ก็ยังมีความรู้อีกมากมายที่ได้ซึมซับจากท่านอาจารย์ แต่ถ้าจะให้บรรยายออกมาก็คงจะบรรยายได้ไม่ครบ เอาเป็นว่าทุกทุกอย่างท่านอาจารย์ได้สั่งสอนมาก็จะพยายามนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้ค่ะ

กิจกรรมกับผู้ปกครองในการส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยายด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่งน้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก
3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1.10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งค่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกัน ในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสงการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลมสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจุรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง”
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียนพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิทของเด็กเพื่อสินประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไข ปรับปรุง
12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงควบคิดรวบยอดเดียว
13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก
14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด้กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวันการนับ ถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เด็กจะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่าง ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควรให้เด็กได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล 2. มะม่วง 2-3 ผล 3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้

การประเมินผล
สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่

ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
(ที่มา : http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_child/chap07/7_20_10.html)

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสอนหน้าชั้นเรียน

ในวันที่ 10 -11 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสอนหน้าชั้นเรียนทีละคน และอาจารย์ก็ได้มีการให้คำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผน การร้องเพลง เนื้อหาที่สอน ลักษณะการใช้คำถาม เป็นต้นซึ่งก็ได้รับการแนะนำไปอย่างถ้วนหน้า...*_*

กลุ่มของดิฉันได้เสนอการสอนใน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นกลุ่มสุดท้ายเลย ซึ่งเป็นเรื่อง แมลง อนุบาล 3 มีแผนการสอนดังนี้ค่ะ...
วัตถุประสงค์
1. บอกชื่อแมลงที่รู้จักได้
2. บอกชื่อแมลงที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้
3. อธิบายรสชาติของแมลงได้
4. สามารถนับจำนวนได้

ประสบการณ์สำคัญ
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
3. การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของเหตุการณ์และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
4. การนับสิ่งต่างๆ
5. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ

สาระที่ควรเรียนรู้
1. แมลงบางชนิดสามารถนำมารับประทานได้เช่น ตั๊กแตน ดัดแด้ไหม แมลงกระชอน แมลงดานา เป็นต้น
2. สามารถนำมาประกอบอาหารได้โดย การทอด การคั่ว ทำน้ำพริก เป็นต้น
3. แมลงที่เป็นอาหารสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน

กิจกรรมการเรียนรู้
-ขั้นนำ
ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของแมลงที่เรียนไปแล้ว เช่น "เมื่อวานเด็กได้รู้ประโยชน์ของแมลงไปแล้วใช่ไหมค่ะ" "เด็กๆยังจำได้อยู่รึเปล่าว่าแมลงมีประโยชน์อะไรบ้าง"
1. ...........................................
2. ..........................................
3. ..........................................

-ขั้นสอน
1. ครูนำแมลงทอดใส่จาน แล้วมีฝาปิด แล้วถามเด็กๆว่า "เด็กรู้ลองทายดูสิค่ะว่า อะไรเอ่ยที่อยู่ในจาน"
2.แล้วเปิดให้เด็กดูทีละจานแล้วถามเด็กว่า "เด็กรู้ไหมว่าแมลงที่อยู่ในจานนี้มีชื่อว่าอะไร เด็กเคยพบเห็นที่ไหนรึเปล่า แล้วเด็กดีคนไหนบ้าง ที่อยากจะชิมค่ะ"
3.มาถึงจานที่ 2 ก็ถามเช่นเดียวกัน
4. ขอตัวแทนเล่าว่าแมลงที่ตนเองได้ชิมไปนั้น มีชื่อว่าอะไร รสชาติเป็นแบบไหน ให้ครูและเพื่อนๆฟัง

-ขั้นสรุป
ครูให้เด็กๆทีละคนบอกว่าใครชอบแมลงชนิดใดมากที่สุด แล้วร่วมกันนับจำนวนแต่ละชนิด แล้วมาสรุปกันว่าแมลงชนิดใดที่เด้กๆชอบมากที่สุด

สื่อ
1. ตั๊กแตนทอด และ ดักแด้ไหมทอด เป็นต้น
2. แผ่นชาร์จนับจำนวน

การวัดและการประเมินผล
1. การสังเกตจากการตอบโต้ด้วยคำพูด
2.สังเกตจากการแสดงความรู้สึกผ่านคำพูด
3. สังเกตจากการนับจำนวน

ข้อเสนอแนะของอาจารย์
1. มีการใช้ความรู้เดิม
2. มีของจริงมาให้เด็กได้ลองชิม และสัมผัสด้วยตนเอง
3. มีการทำแผ่นชาร์จแสดงความ มาก-น้อย ให้เด็กได้เห็นอย่างชัดเจน

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553


สวัสดีค่ะ การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายถึง "วิธีการจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ " และจากนั้นก็ได้อธิบายเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหา และวิธีการสอนของแต่ละช่วงอายุ อย่างละเอียดโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
ก่อนอื่นต้องรู้ "วิธีการเรียนรู้ของเด็ก"(การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติ)
ได้แก่
-รู้พัฒนาการ
-รู้ความต้องการของเด็ก
-รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีการสอนคณิตศาสตร์
-โดยสอนจากของจริง + ภาพ + สัญลักษณ์

สำหรับบบรรยากาศภายในห้องเรียนวันนี้นักศึกษามีความตั้งในในการฟังในสิ่งอาจารย์ได้อธิบาย แต่ก็มีบางส่วนอีกเช่นเคย ที่ยังไม่มีสมาธิ แต่สภาพโดยรวมแล้วถือว่าดีค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม 2553

วันนี้อาจารย์เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่มซึ่งมีทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มของดิฉันได้กลุ่ม A 3 เรื่อง แมลง ส่วนอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม B ได้เรื่อง ดอกไม้ และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละกลุ่มจะต้องถ่ายทอดให้เด็กอนุบาลอย่างถูกต้องตามหลักพัฒนาการ จากนั้นอาจารย์เริ่มอธิบาย แนะนำวิธีการสอนให้กับกลุ่ม ดอกไม้ก่อน เช่น
หน่วยดอกไม้
-อนุบาล 1 เป็นเรื่องของดอกไม้ ลักษณะ ประโยชน์ และโทษ ของดอกไม้เป็นต้น
-อนุบาล 2 เป็นการเจาะจงดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น เรื่องง ดอกกุหลาบ
-อนุบาล 3 เน่นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น การสอนลักษณะของดอกไม้ว่ามีลักษณะอย่างไร จะต้องให้เด็กเห็นอย่างชัดเจน คือเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กได้มีการออกสำรวจสิ่งต่างๆด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างครบทุกด้าน

หน่วยแมลง

เนื้อหาบางส่วนมีความคล้ายคลึงกันกับกลุ่ม ดอกไม้
อนุบาล 1 เป็นเรื่องของชื่อแมลง ลักษณะ ประโยชน์และโทษ เป็นต้น
อนุบาล 2 เจาะจงแมลงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ยุง
อนุบาล 3 เป็นเรื่องของประเภทของแมลง การสำรวจสิ่งต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับแมลง เช่นสถานที่ที่มีแมลง การเรียกแมลง โประโยชน์ของแมลง และแมลงที่เป็นอาหารของมุษย์

นี่ก็เป็นเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องนำไปบูรณาการให้สอดคล้องกับการเขียนแผนให้ถูกต้องค่ะ ส่วนบรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นไปด้วยดีนักศึกษามีความต้องใจในการฟังเกือบทุกคนค่ะ...

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม 2553

สวัสดีทุกๆคนค่ะ วันนี้ได้มาเรียนที่ห้องคอม ฯ เช่นเคยค่ะ วันนี้อาจารย์ได้ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่มีปัญหาอีกแล้ว คืองานที่ส่งไปมันเปิดไม่ได้ อาจารย์ก็เลยได้อธิบายเพิ่มเติมบางส่วนในการส่งงาน โดยให้นำงานเดิมที่ทำอยู่แล้วมาแบ่งเป็น 3 ระดับ อนุบาล 1 2 3 ตามลำดับ แล้วให้ตกลงกันว่าจะอยู่ในระดับใด แล้วจึงนำมาเขียนแผนการจัดประสบการณ์
-งานอีกหนึ่งอย่างคือ การร้อยลูกปัดด้วยลวดกำมะหยี่ จำนวน 1-10 เสัน แล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายวิธีการเล่น แต่ดิฉันก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ
-บรรยายกาศภายในห้องเรียนค่อนข้างตรึงเคลียด เพราะยังมีนักศึกษาบางส่วน ยังตั้งหน้าตั้งตาเล่นเกมส์ หรือทำอะไรที่นอกเหนือจากการเรียนอยู่ อาจารย์เลยดุนิดหน่อย แต่ดิฉันก็ไม่ได้เป็นหนึงในนั้นน่ะเพราะดิฉันพยยามตอบโต้กับอาจารย์ถึงแม้บางครั้งจะตอบไม่ตรงก็เถอะ...

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 มกราคม 2553


สวัสดีค่ะทุกๆคน วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวเรื่องของคณิตศาสตร์ เราไปดูกันนะค่ะว่ามีหัวข้ออะไรกันบ้าง...
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
-มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก
-ลักษณะหลักสูตรที่ดี
-หลักการสอน
-หลักการสอนทางคณิตศาสตร์
-ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์

โดยสรุปแล้วมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
-ในเรื่องของตัวเลขนั้น ควรให้เด็กได้มีการคิด ได้เห็น และเขียนเอง และควรเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย เช่น การเขียนวันที่ อายุ เลขห้อง เบอร์โทร น้ำหนัก ส่วนสูง บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิกในห้อง จำนวนสมาชิกในบ้านฯลฯ
-มาตราการวัดระบบเมตริก : เป็นการใช้เครื่องไม่เป็นทางการในการวัด เช่น ฝ่ามือ แก้ว กระป๋อง ฯลฯ
-ความเชื่อมั่นของเด็กจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเด็กลงมือทำดวยความเต็มใจ โดยที่ครูเป็ผู้สนับสนุนและคอยเป็นกำลังใจ

หลักการสอนคณิตศาสตร์

1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับตัวเลข
9. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก

รายละเอียดด้านบนนี้ก็เป็นความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนในวันนี้ค่ะ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ดิฉันควรจะจดจำไว้ใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด ส่วนบรรยากาศในห้อง วันนี้รู้สึกว่าจะหนาวไม่เปลี่ยนแปลง ดิฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเครื่องปรับอากาศถึงปรับอุณหภูมิไม่ได้ งงง... ส่วนเรื่องบรรยากาศการมีส่วนร่วมระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ก็เป็นไปได้ดีมีการตอบโต้กันไปมาบ้าง ก็สนุกสนานกันไปค่ะ ...