ในวันที่ 10 -11 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสอนหน้าชั้นเรียนทีละคน และอาจารย์ก็ได้มีการให้คำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแผน การร้องเพลง เนื้อหาที่สอน ลักษณะการใช้คำถาม เป็นต้นซึ่งก็ได้รับการแนะนำไปอย่างถ้วนหน้า...*_*
กลุ่มของดิฉันได้เสนอการสอนใน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นกลุ่มสุดท้ายเลย ซึ่งเป็นเรื่อง แมลง อนุบาล 3 มีแผนการสอนดังนี้ค่ะ...
วัตถุประสงค์
1. บอกชื่อแมลงที่รู้จักได้
2. บอกชื่อแมลงที่สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้
3. อธิบายรสชาติของแมลงได้
4. สามารถนับจำนวนได้
ประสบการณ์สำคัญ
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
3. การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของเหตุการณ์และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
4. การนับสิ่งต่างๆ
5. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ
สาระที่ควรเรียนรู้
1. แมลงบางชนิดสามารถนำมารับประทานได้เช่น ตั๊กแตน ดัดแด้ไหม แมลงกระชอน แมลงดานา เป็นต้น
2. สามารถนำมาประกอบอาหารได้โดย การทอด การคั่ว ทำน้ำพริก เป็นต้น
3. แมลงที่เป็นอาหารสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน
กิจกรรมการเรียนรู้
-ขั้นนำ
ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของแมลงที่เรียนไปแล้ว เช่น "เมื่อวานเด็กได้รู้ประโยชน์ของแมลงไปแล้วใช่ไหมค่ะ" "เด็กๆยังจำได้อยู่รึเปล่าว่าแมลงมีประโยชน์อะไรบ้าง"
1. ...........................................
2. ..........................................
3. ..........................................
-ขั้นสอน
1. ครูนำแมลงทอดใส่จาน แล้วมีฝาปิด แล้วถามเด็กๆว่า "เด็กรู้ลองทายดูสิค่ะว่า อะไรเอ่ยที่อยู่ในจาน"
2.แล้วเปิดให้เด็กดูทีละจานแล้วถามเด็กว่า "เด็กรู้ไหมว่าแมลงที่อยู่ในจานนี้มีชื่อว่าอะไร เด็กเคยพบเห็นที่ไหนรึเปล่า แล้วเด็กดีคนไหนบ้าง ที่อยากจะชิมค่ะ"
3.มาถึงจานที่ 2 ก็ถามเช่นเดียวกัน
4. ขอตัวแทนเล่าว่าแมลงที่ตนเองได้ชิมไปนั้น มีชื่อว่าอะไร รสชาติเป็นแบบไหน ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
-ขั้นสรุป
ครูให้เด็กๆทีละคนบอกว่าใครชอบแมลงชนิดใดมากที่สุด แล้วร่วมกันนับจำนวนแต่ละชนิด แล้วมาสรุปกันว่าแมลงชนิดใดที่เด้กๆชอบมากที่สุด
สื่อ
1. ตั๊กแตนทอด และ ดักแด้ไหมทอด เป็นต้น
2. แผ่นชาร์จนับจำนวน
การวัดและการประเมินผล
1. การสังเกตจากการตอบโต้ด้วยคำพูด
2.สังเกตจากการแสดงความรู้สึกผ่านคำพูด
3. สังเกตจากการนับจำนวน
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
1. มีการใช้ความรู้เดิม
2. มีของจริงมาให้เด็กได้ลองชิม และสัมผัสด้วยตนเอง
3. มีการทำแผ่นชาร์จแสดงความ มาก-น้อย ให้เด็กได้เห็นอย่างชัดเจน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น